Apinhasmit W, Jainkittivong A. Concurrence of torus palatinus and torus mandibularis in a group of Thai population. J Dent Assoc Thai 2002;52:115-9.
           The objectives of this study were to assess the concurrence of torus palatinus and torus mandibularis, and the age and sex variations of the concurrence of both tori in a group of Thai population. The connection of the occurrence of both tori was also investigated. One thousand and two hundred subjects were clinically examined for the occurrence of torus palatinus and torus mandibularis at the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University. The subjects were equally divided into six age groups: 13-19, 20-29, 30-39, 40-49, 50-59, and 60 years and over. Each age group comprised of equal number of males and females. The Chi-square test was used to analyze for group difference at p<0.05. The result showed that 22.9% of total subjects exhibited the concurrence of torus palatinus and torus mandibularis. There was a significant association between the concurrence of both tori with age (p=0.001). The concurrence of both tori was not significantly different between males and females (21.3% versus 24.5%, p=0.192). There was a relation between the occurrence of torus palatinus and torus mandibularis in total subjects, in males and in females (p<0.001). Our study showed that the concurrence of torus palatinus and torus mandibularis in a group of Thai population was rather high and the concurrence of both tori was significantly different with age. The relationship between the occurrence of TP and TM existed.
วันดี อภิณหสมิต, อารีย์ เจนกิตติวงศ์. การปรากฏร่วมกันของกระดูกทอรัสที่เพดานปากและขากรรไกรล่างในคนไทยกลุ่มหนึ่ง. ว ทันต 2545;52:115-9.
          งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความชุกของการปรากฏร่วมกันของกระดูกทอรัสที่เพดานปากและขากรรไกรล่าง และการเปลี่ยนแปลงของการปรากฏร่วมกันของกระดูกทอรัสทั้งสองชนิดตามอายุและเพศในคนไทยกลุ่มหนึ่ง ตลอดจนศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการปรากฏของกระดูกทอรัสที่เพดานปากกับการปรากฏของกระดูกทอรัสที่ขากรรไกรล่าง ทำการศึกษาโดยการตรวจช่องปากคนไทยจำนวน 1,200 คน เพื่อสำรวจการปรากฏของกระดูกทอรัสที่เพดานปากและขากรรไกรล่าง ณ คณะทันตแพทยศ่าสตร์ จุฬา- ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชากรที่ศึกษาแบ่งออกเป็นด้วย 6 กลุ่มอายุ คือ 13-19, 20-29, 30-39, 40-49, 50-59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป โดยในแต่กลุ่มอายุมีจำนวนเท่ากันและมีประชากรเพศชายและเพศหญิงเท่ากันด้วย วิเคราะห์ความแตกต่างของการปรากฏร่วมกันของกระดูกทอรัสที่เพดานปากและขากรรไกรล่างในแต่ละกลุ่ม โดยใช้สถิติวิเคราะห์ไค-สแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 ผลการศึกษาพบว่าการปรากฏร่วมกันของกระดูกทอรัสที่เพดานปากและขากรรไกรล่างมีค่าร้อยละ 22.9 ของกลุ่มที่ทำการศึกษา โดยการปรากฏร่วมกันของกระดูกทอรัสทั้งสองชนิดเปลี่ยนแปลงตามอายุ (p=0.001) แต่ไม่แตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง (ร้อยละ 21.3 ต่อร้อยละ 24.5, p=0.192) นอกจากนี้ยังพบว่าการปรากฏของกระดูกทอรัสที่เพดานปากมีความสัมพันธ์กับการปรากฏของกระดูกทอรัสที่ขากรรไกรล่างทั้งในกลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมด ตลอดจนในเพศเพศชายและในเพศหญิง (p<0.001) จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการปรากฏร่วมกันของกระดูกทอรัสที่เพดานปากและขากรรไกรล่างพบได้ค่อนข้างมาก และการปรากฏร่วมกันของกระดูกทอรัสทั้งสองชนิดนี้มีความผันแปรตามอายุ อีกทั้งพบความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของกระดูกทอรัสที่เพดานปากกับ การปรากฏของกระดูกทอรัสที่ขากรรไกรล่าง