![]() |
Champarthed R, Thechaprasertvitaya C, Apinhasmit W. Effect of tetracycline hydrochloride and citric acid on root surfaces : A scanning electron microscopic study. J Dent Assoc Thai 2000;50:434-7. |
The
objective of this study was to study the effect of tetracycline hydrochloride
solutions and citric acid on the root surfaces. The first part of this study
was to compare the results of 50, 100 and 150 mg/ml of the tetracycline
hydrochloride solutions and saturated citric acid at pH 1 on radicular dentin
blocks prepared from 10 periodontitis affected teeth. Four types of solutions
were applied on the surfaces of radicular dentin blocks prepared from each
tooth. Eight dentin blocks prepared from two teeth were applied by distilled
water used as a control. All dentin blocks were then processed and examined
by using scanning electron microscopy. The number, diameter and total area
of dentinal tubule openings were compared by One Way Analysis of Variance
and Scheffe' Multiple Range Test. The results showed that there were no
statistically significant differences (p>0.05) between the effect of
tetracycline hydrochloride at the concentrations of 100 and 150 mg/ml and
saturated citric acid. The second part of this study was the comparison
of 100 and 150 mg/ml of the tetracycline hydrochloride and saturated citric
acid on periodontitis affected root surfaces after scaling and root planing
of 10 teeth. Four blocks from each tooth were applied by 100 and 150 mg/ml
of tetracycline hydrochloride, saturated citric acid and distilled water.
The results revealed no different changes in appearance among 100 and 150
mg/ml of tetracycline hydrochloride and saturated citric acid groups. Some
areas had cementum left whereas some had dentin exposed. In the cementum
left areas, different appearances such as, fissure-like cleft or granular
appearance outlining by collagen like intrinsic fibers were seen. The granular
appearance represented the remnant of Sharpey's fibers. Exposed dentin areas
had small scattered dentinal tubule openings and tufted collagen fibers.
From the present study, it was concluded that 100 and 150 mg/ml of tetracycline
hydrochloride demineralized and changed the morphology of root surface similar
to that of saturated citric acid. |
ปรัชญา จำปาเทศ, ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา, วันดี อภิณหสมิต. ผลของเตตราชัยคลินไฮโดรคลอไรด์และกรดซิตริกต่อผิวรากฟัน: ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด. ว ทันต 2543; 50: 434-7. |
การวิจัยนี้ศึกษาผลของเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์
และกรดซิตริกที่มีต่อผิวรากฟัน โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ตอน ตอนแรกศึกษาผลของการทาสารละลายเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้น
50, 100 และ 150 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เปรียบเทียบกับกรดซิตริกอิ่มตัว พีเอช
1 ที่มีต่อชิ้นเนื้อฟันบริเวณรากโดยเตรียมจากฟันซี่เดียวกันที่ถอนจากผู้ป่วยโรคปริทันต์และขูดหินน้ำลายออก
จำนวน 10 ซี่ และฟันอีก 2 ซี่เป็นกลุ่มควบคุมซึ่งทาด้วยน้ำกลั่น หลังจากทาสารทั้ง
4 ชนิดและน้ำกลั่นบนชิ้นเนื้อฟันแล้ว นำไปผ่านกระบวนการเตรียมตัวอย่างเพื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด
เปรียบเทียบจำนวนรูเปิด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง และผลรวมพื้นที่หน้าตัดของรูเปิดท่อเนื้อฟัน
โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบแจงทางเดียว และแบบทดสอบของเชฟเฟ ผลของการวิเคราะห์พบว่า
กลุ่มที่ทาเตตราซัยคลินไฮโดร-คลอไรด์ ความเข้มข้น 100 และ 150 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
และกลุ่มที่ทากรดซิตริกอิ่มตัว ให้ผลไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
ตอนที่สอง เลือกศึกษาผลของการทาเตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้น 100 และ
150 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร เปรียบเทียบกับการทากรดซิตริกอิ่มตัว และทาน้ำกลั่นเป็นกลุ่มควบคุม
โดยทาบนผิวรากฟัน ซึ่งเตรียมจากฟันซี่เดียวกันที่เป็นโรคปริทันต์ หลังจากขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันให้เรียบแล้ว
จำนวน 10 ซี่ ผลการศึกษาพบว่า เตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้น 100 และ
150 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และกรดซิตริกอิ่มตัว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใกล้เคียงกัน
โดยพบลักษณะรากฟัน 2 แบบ คือบริเวณที่มีเคลือบรากฟันเหลืออยู่ และบริเวณที่มีเนื้อฟันเผย
โดยบริเวณที่มีเคลือบรากฟันเหลืออยู่จะพบลักษณะแตกต่างกันออกไปคือ บางบริเวณมีลักษณะเป็นรอยแยก
บางบริเวณมีลักษณะเป็นตุ่มนูนซึ่งเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของเส้นใยชาร์เปย์ โดยเห็นเส้นใยคอลลาเจนรอบ
ๆ ตุ่มนูนชัดเจน ส่วนบริเวณที่มีเนื้อฟันเผยพบเส้นใยคอลลาเจนเส้นสั้น ๆ และรูเปิดท่อเนื้อฟันขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เตตราซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ความเข้มข้น 100 และ 150
มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถละลายแร่ธาตุและเปลี่ยนแปลงผิวรากฟันไม่แตกต่างจากการทากรดซิตริกอิ่มตัว |