Tamsailom S, Apinhasmit W, Leelawattanapong P, Jotikasthira N, Taechaprasertvittaya C. The effect on the root surfaces of ultrasonic scaler tips in the removal of subgingival calculus. J Dent Assoc Thai 2000;50:360-71.
           This study was performed to compare the effect on the root surfaces between ultrasonic scalers with probe-type tip and curved tip in the removal of subgingival calculus of 10 single-rooted teeth. The teeth were periodontitis and had been planned for extraction. The mesial and distal surfaces of each selected tooth had the same calculus index and probing pocket depth. They were assigned using systematic randomization to be instrumented by the different types of the ultrasonic scaler tips until the root surface was felt smooth and clean as examined with an explorer tip. After extraction, the teeth were prepared and examined under a scanning electron microscope. The roughness and loss of tooth substance scores were determined. The result showed that medians of the scores of the groups using ultrasonic scalers with probe-type tip and curved tip were 2 and 3, respectively. The former was significantly less than the latter (p=0.028). It was concluded that both types of ultrasonic scaler tips caused the root surface roughness and loss of tooth substance, but the probe-type tip caused significantly less damage than the curved tip (p<0.05).
สุพจน์ ตามสายลม, วันดี อภิณหสมิต, พนิดา ลีลาวัฒนาพงษ์, นิตยา โชติกเสถียร, ชนินทร์ เตชะ-ประเสริฐวิทยา. ผลกระทบต่อผิวรากฟันของหัวขูดหินน้ำลายสำหรับเครื่องอัลทราโซนิกส์ในการกำจัดหินน้ำลายใต้เหงือก. ว ทันต 2543;50:360-71
           การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อผิวรากฟัน ภายหลังการใช้หัวขูดหินน้ำลายสำหรับเครื่องอัลทราโซนิกส์ชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์กับชนิดปลายโค้ง ในการกำจัดหินน้ำลายใต้เหงือกในฟันรากเดียวที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ และได้รับการวางแผนการรักษาว่าจะถอน จำนวน 10 ซี่ โดยทำการขูดหินน้ำลายเฉพาะด้านใกล้กลาง และด้านไกลกลางของฟันแต่ละซี่ ที่มีดัชนีหินน้ำลายและความลึกของพ็อกเก็ตที่หยั่งได้เท่ากัน สุ่มตัวอย่างโดยเลือกตามลำดับเลขที่ของฟันแต่ละด้านในซี่หนึ่ง ๆ เพื่อเลือกใช้หัวขูดหินน้ำลายชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์หรือชนิดปลายโค้ง ขูดหินน้ำลายจนกระทั่งผิวรากฟันเรียบและสะอาดเมื่อตรวจด้วยเอ็กซพลอเรอร์ จากนั้นถอนฟันออกมา นำมาเตรียมและประเมินผลกระทบของเครื่องมือทั้งสองชนิดต่อผิวรากฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการใช้หัวขูดหินน้ำลายสำหรับเครื่องอัลทราโซนิกส์ชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์ทำให้ผิวรากฟันมีค่ามัธยฐานของดัชนีความขรุขระ และการสูญเสียเนื้อฟันเท่ากับ 2 ซึ่งน้อยกว่าภายหลังการใช้หัวขูดหินน้ำลายชนิดปลายโค้ง ที่มีค่ามัธยฐานของดัชนีความขรุขระและการสูญเสียเนื้อฟันเท่ากับ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.028) สรุปได้ว่า หัวขูดหินน้ำลายทั้งสองชนิดทำให้เกิดอันตรายต่อผิวรากฟัน โดยหัวขูดหินน้ำลายชนิดคล้ายเครื่องมือตรวจปริทันต์ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวรากฟันน้อยกว่าหัวขูดหินน้ำลายชนิดปลายโค้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)