![]() |
Apinhasmit W, Swasdison S, Sukhonpan C, Prateepasen R, Tamsailom S. Silicone sheet. III. Connective tissue and bacterial colonization on barrier membranes used in human guided periodontal tissue regeneration. J Dent Assoc Thai 2000;50:331-9. |
The
barrier membrane plays an important role in the treatment of periodontal
disease by guided tissue regeneration (GTR) technique. The objective of
this study was to examine the connective tissue elements and bacterial colonization
on the lesion-facing surface of the silicone sheet used as a barrier membrane.
Nine patients with 14 periodontal intrabony lesions were first surgically
treated by GTR technique with silicone sheets as the barrier membranes.
Four weeks after the first operation, the second operation was performed
to remove the barrier membranes. The retrieved membranes were investigated
by scanning electron microscopy. The results showed that fibroblasts with
their secreted extracellular matrix, known as components of the connective
tissue, were found scattering at the cervical, middle and apical portions
of the membrane. In addition, the bacterial colonization was also observed
on these membranes. Many bacterial forms including cocci, bacilli and filaments
were identified. The results indicate that the silicone sheet is biocompatible
with human tissue and might be able to use as a barrier membrane in guided
tissue regeneration. |
วันดี อภิณหสมิต, สมพร สวัสดิสรรพ์, ชนกพรรณ สุคนธ์พันธุ์, รุจิพร ประทีปเสน, สุพจน์ ตามสายลม. แผ่นซิลิโคน. III. เนื้อเยื่อยึดต่อและกลุ่มแบคทีเรียบนแผ่นเยื่อขวางกั้นที่ใช้ในการชักนำให้เกิดเนื้อเยื่อปริทันต์งอกใหม่ในคน. ว ทันต 2543;50:331-9. |
แผ่นเยื่อขวางกั้นมีบทบาทสำคัญต่อการหายของแผลผ่าตัดในการรักษาโรคปริทันต์ด้วยวิธีการชักนำให้เกิดเนื้อเยื่องอกใหม่หรือจีทีอาร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเนื้อเยื่อยึดต่อและกลุ่มแบคทีเรียที่เกาะบนด้านที่หันเข้าหารอยโรคของแผ่นซิลิโคนที่ใช้เป็นแผ่นเยื่อขวางกั้นในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบจำนวน 9 ราย มีรอยโรคของกระดูกเบ้าฟันใต้สันกระดูก
14 แห่ง ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการผ่าตัดเพื่อการรักษาด้วยวิธีจีทีอาร์และใช้แผ่นซิลิโคนเป็นแผ่นเยื่อขวางกั้น
หลังการผ่าตัดครั้งแรก 4 สัปดาห์ ผ่าตัดอีกครั้งเพื่อนำเอาแผ่นเยื่อขวางกั้นออก
จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดในแผ่นซิลิโคนที่ใช้เป็นแผ่นเยื่อขวางกั้นใน
ผู้ป่วยพบเซลล์ไฟโบรบลาสต์จำนวนมากยึดเกาะอยู่ เซลล์เหล่านี้มีการสร้างเมทริกซ์นอกเซลล์มาล้อมรอบตัวเอง
ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อยึดต่อกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณคอฟัน กลางรากฟันและปลายรากฟันของด้านที่หันเข้าหารอยโรคของแผ่นซิลิโคน
นอกจากนี้ยังพบกลุ่มแบคทีเรียบนแผ่นซิลิโคนเหล่านี้ได้บ้าง โดยพบทั้งแบคทีเรียรูปกลม
รูปแท่งและรูปเส้น จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแผ่นซิลิโคนมีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อของคนและสามารถใช้เป็นแผ่นเยื่อขวางกั้นในการทำจีทีอาร์ได้ |