Thipsoonthornchai P, Chiewcharat P, Apinhasmit W, Thanaboonsombut B. Bracket removal effect on adhesive remaining on enamel and enamel loss by using shear and peel forces. J Dent Assoc Thai 1999;49:268-82.
          The objectives of this study were to compare the amount of adhesive remaining on the enamel surface and enamel loss caused by either shear or peel force in the bracket removal. One hundred and twenty premolar teeth were attached with groove base brackets by the direct bonding technique. All brackets were removed by a ligature cutter. Sixty brackets were removed by using the shear force while the rest were removed by using the peel force. The adhesive remaining on enamel surfaces was evaluated with the Adhesive Remnant Index (ARI) under a stereo microscope. Then, the bracket surfaces were investigated under a scanning electron microscope for the morphology of mineral-like particles attaching to the adhesive fracture surfaces. These particles were also analyzed by an energy dispersive x-ray spectrometer for their calcium/phosphorus ratios and by an image analysis of scanning electron micrographs for measurements of their areas. It was found that there were significant differences in ARI of shear and peel force removals (p<0.05). By using the shear force, the amount of teeth with low ARI were higher than those by using the peel force. The morphology of enamel detachment on the adhesive fracture surface in the shear force removal showed terraced structure with fish scale appearance locating along the striae of Retzius. The enamel detachment caused by the peel force revealed the same appearance as that caused by the shear force. The enamel detachment by the peel force was less but its distribution was wider than that by the shear force. Enamel detached by the shear and peel forces was composed of enamel rods with honeycomb structure. The mean of calcium/phosphorus ratios of all particles was in the range of normal enamel. The percentage of total enamel particle areas related to the total adhesive resin areas in the same ARI group of the shear force removal were higher than those of the peel force removal with statistically significant difference (p<0.005). The result suggested that the bracket removal by using shear force produced statistically less amount of remnant adhesive resin on the enamel surface than that by using the peel force. In addition, the shear force removal caused statistically higher enamel loss than the peel force removal.
พาชื่น ทิพย์สุนทรชัย, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, วันดี อภิณหสมิต, บัญชา ธนบุญสมบัติ. ผลของการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนและแรงปอกต่อปริมาณของแอดฮีซีฟเรซินที่เหลือบนผิวเคลือบฟันและการสูญเสียผิวเคลือบฟัน. ว ทันต 2542;49:268-82.
          การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาเปรียบเทียบผลของการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนและแรงปอกต่อการ หลงเหลือของแอดฮีซีฟเรซินบนผิวเคลือบฟัน และการสูญเสียผิวเคลือบฟันในฟันกรามน้อย 120 ซี่ โดยติดแบรกเกตที่มีฐานแบบร่องบนผิวฟันด้วยวิธีไดเรกบอนด์ ถอดแบรกเกตโดยคีมตัดลวดด้วยแรงเฉือนและแรงปอก กลุ่มละ 60 ซี่ ศึกษาปริมาณแอดฮีซีฟเรซินบนผิวเคลือบฟันตามค่าเออาร์ไอด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ และศึกษาลักษณะของผิวเคลือบฟันที่แตกหักติดมากับผิวของแอดฮีซีฟเรซินบนฐานแบรกเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด แล้วยืนยันตำแหน่งของผิวเคลือบฟันและหาอัตราส่วนระหว่างธาตุแคลเซียมกับฟอสฟอรัสซึ่งเป็นส่วนประกอบของผิวเคลือบฟันโดยระบบการวิเคราะห์ธาตุด้วยรังสีเอกซ์เรืองแบบอีดีเอส จากนั้นคำนวณหาพื้นที่การสูญเสียผิวเคลือบฟันด้วยกระบวนการวิเคราะห์ภาพสำหรับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการวิจัยพบว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนและแรงปอกได้ค่าเออาร์ไอแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p<0.05 โดยการใช้แรงเฉือนจะมีจำนวนฟันที่มีค่าเออาร์ไอต่ำมากกว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงปอก เมื่อศึกษาลักษณะพื้นผิวของแอดฮีซีฟเรซินที่ติดบนฐานแบรกเกตจากการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือน พบว่ามีผิวเคลือบฟันแตกหักออกมาเป็นชั้น ๆ เรียงตัวเหมือนเกล็ดปลาซ้อนกันตามแนวเส้นของเรทเซียส ส่วนการถอดแบรกเกตด้วยแรงปอกมีผิวเคลือบฟันแตกหักจำนวนน้อยกว่า แต่กระจายเป็นบริเวณกว้างกว่า ผิวเคลือบฟันที่แตกหักจากการถอดแบรกเกตด้วยแรงทั้งสองชนิดประกอบด้วยแท่งเคลือบฟันที่เรียงตัวคล้ายรวงผึ้ง ในการยืนยันตำแหน่งผิวเคลือบฟันโดยระบบการวิเคราะห์ธาตุด้วยรังสีเอกซ์เรืองแบบอีดีเอสได้ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนระหว่างธาตุแคลเซียมกับฟอสฟอรัสอยู่ในช่วงที่พบในผิวเคลือบฟันปกติ สำหรับการคำนวณพื้นที่การสูญเสียผิวเคลือบฟันภายหลังการถอดแบรกเกตทั้งสองวิธีของกลุ่มที่มีค่าเออาร์ไอเท่ากัน พบว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือน ทำให้เกิดการสูญเสียผิวเคลือบฟันโดยคิดเป็นร้อยละต่อหน่วยพื้นที่ของแอดฮีซีฟเรซินมากกว่าการถอดแบรกเกตด้วย แรงปอกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p<0.005 ผลจากการศึกษาแสดงว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงเฉือนทำให้มีแอดฮีซีฟเรซินหลงเหลืออยู่บนผิวเคลือบฟันน้อยกว่าการถอดแบรกเกตด้วยแรงปอก แต่เกิดการสูญเสียผิวเคลือบฟันมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ