![]() |
Wechbanjong N, Apinhasmit W, Phansuwan P. Cat's vallate papilla. CU Dent J 1995; 18:71-80. |
So
far, no one has reported about the morphology of the cat's vallate papilla.
Two adult cat's tongues were investigated by using light microscopy. The
results revealed that each tongue contained 7 and 8 papillae, respectively,
arranging in a V-shaped form. According to their location and configuration,
the papillae were classified into 2 types. Type I, the papillae of which
embedded deeply under the tongue mucosa. This type of papillae had the flower-bud
shape with their trenches opened into the narrow canals which led to the
oral cavity. Type II, the papillae of this type had their apices reaching
the tongue surface with the trenches opened directly into the oral cavity.
According to their shape, they were divided into 2 sub-types. Sub-type IIa,
the papillae that had the same shape as the type I papillae and sub-type
IIb, the papillae that had a cylindrical shape with their diameters of the
bases being equal to the heights. All these papillae could be found both
with and without a vallate-crypt. In general, the flower-bud shaped papillae
were located medially to the midline, while the others were found laterally.
Taste buds were distributed unevenly on both the top surface and the lateral
walls of the papilla, while the outer wall of the trench was devoid of them.
In the core of some papillae, a few single neurons were also observed. Scattered
neurons and small ganglia were occasionally seen underneath the papilla
among the serous glands, muscle fibers, and the adipose tissues. |
นวลน้อย เวชบรรจง, วันดี อภิณหสมิต, ปานสิริ พันธ์สุวรรณ. วัลเลทปาปิลลาของแมว. ว ทันต จุฬาฯ 2538;18:71-80. |
จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของวัลเลทปาปิลลาของแมว
จากการศึกษาวัลเลทปาปิลลาของแมวในระยะโตเต็มวัยจำนวน 2 ตัว ด้วยกล้องจุลทรรศน์
ผลปรากฏว่าในลิ้นแต่ละอันประกอบด้วยปาปิลลาจำนวน 7 และ 8 อันเรียงตัวเป็นแถวรูปตัววี
ปาปิลลาเหล่านี้ สามารถแบ่งตามตำแหน่งที่พบและรูปร่างได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 ปาปิลลาที่ฝังตัวต่ำกว่าเยื่อเมือกของลิ้น มีรูปร่างเหมือนดอกบัวตูม ร่องที่ล้อมรอบปาปิลลาเปิดสู่ท่อแคบๆ ซึ่งติดต่อกับช่องปาก ชนิดที่ 2 ปาปิลลาที่มียอดขึ้นมาถึงผิวของลิ้น และร่องล้อมรอบปาปิลลา เปิดสู่ช่องปากโดยตรง สามารถแบ่งย่อยตามรูปร่างออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ ปาปิลลารูปดอกบัวตูมเหมือนกับชนิดที่ 1 และปาปิลลารูปทรงกระบอกที่มีความกว้างของฐานเท่ากับส่วนสูงของปาปิลลา ปาปิลลาเหล่านี้อาจพบโดยมีวัลเลทคริพท์ร่วมด้วยหรือไม่มีก็ได้ โดยทั่วๆ ไปปาปิลลารูปดอกบัวตูมพบอยู่ในแนวใกล้กลาง ส่วนปาปิลลาชนิดอื่นจะพบอยู่บริเวณใกล้ขอบด้านข้างของลิ้น พบอวัยวะสัมผัสรสกระจัดกระจายไม่สม่ำเสมอทั้งที่ด้านบนและด้านข้างของปาปิลลา แต่ไม่พบที่ผนังด้านนอกของร่องล้อมรอบปาปิลลา ในเนื้อเยื่อแกนกลางของปาปิลลาบางอันพบเซลล์ประสาทได้บ้าง บางครั้งที่ใต้ฐานของ ปาปิลลาพบเซลล์ประสาทและปมประสาทขนาดเล็กแทรกอยู่ระหว่างต่อมซีรัส กล้ามเนื้อลาย และเนื้อเยื่อไขมัน |